เมนู

[980] ลำดับต่อไป ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา เพื่อกำจัด
ราคะเหล่าใด ราคะเหล่านั้น เป็นธุลี 5 ประการในโลก
พึงปราบปราม ราคะในรูป เสียง กลิ่น รส และ
ผัสสะ.


ว่าด้วยธุลี 5 ประการ


[981] บทว่า อถ ในคำว่า ลำดับต่อไป...ราคะเหล่านั้น เป็น
ธุลี 5 ประการในโลก
เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปทปูรณะ
เป็นศัพท์ประชุมอักขระ เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็นลำดับบท.
คำว่า ธุลี 5 ประการ คือราคะในรูป ราคะในเสียง ราคะในกลิ่น
ราคะในรส ราคะในโผฏฐัพพะ. อนึ่ง ได้แก่ราคะดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า
ราคะเรากล่าวว่าเป็นธุลี มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี.
คำว่า ธุลี เป็นชื่อของราคะ บัณฑิตทั้งหลายนั้นละธุลี
นี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.

โทสะเรากล่าวว่าเป็นธุลี มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี.
คำว่า ธุลี เป็นชื่อของโทสะ บัณฑิตทั้งหลายนั้นละธุลี.
นี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.

โมหะเรากล่าวว่าเป็นธุลี มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี.
คำว่า ธุลี เป็นชื่อของโมหะ. บัณฑิตทั้งหลายนั้น ละ
ธุลีนี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าผู้ปราศจาก
ธุลี.

คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก
ธาตุโลก อายตนโลก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ลำดับต่อไป... ราคะ
เหล่านั้นเป็นธุลี 5 ประการในโลก.
[982] คำว่า ราคะเหล่าใด ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ
ศึกษาเพื่อกำจัดราคะเหล่าใด
ความว่า ราคะในรูป ราคะในเสียง
ราคะในกลิ่น ราคะในรส ราคะในโผฏฐัพพะ. คำว่า เป็นผู้มีสติ
ความว่า ความระลึก ความระลึกถึง ความระลึกเฉพาะ สติความระลึก
ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สตินทรีย์ สติพละ
สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค นี้เรียกว่า สติ. ภิกษุเป็นผู้ถึง
เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ไปใกล้ ไปใกล้พร้อม ประกอบด้วยสตินี้
ภิกษุนั้นเรียกว่า มีสติ.
สิกขา ในคำว่า พึงศึกษา มี 3 อย่าง คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตต-
สิกขา อธิปัญญาสิกขา อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า อธิปัญญา
สิกขา.
คำว่า พึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดราคะเหล่าใด ความว่า บุคคล
ผู้มีสติ พึงศึกษาแม้อธิศีล ศึกษาแม้อธิจิต ศึกษาแม้อธิปัญญา เพื่อ
กำจัด เพื่อกำจัดเฉพาะ เพื่อละ เพื่อสงบ เพื่อสละคืน เพื่อระงับ ซึ่ง
ราคะเหล่าใด คือ ราคะในรูป ราคะในเสียง ราคะในกลิ่น ราคะในรส
ราคะในโผฏฐัพพะ นึกถึงอยู่ ชื่อว่า พึงศึกษาสิกขา 3 นี้ รู้ก็ชื่อว่าพึง
ศึกษา ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ก็ชื่อว่าพึงศึกษา พึง
ประพฤติเอื้อเฟื้อ พึงประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทาน ประพฤติไป
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดราคะเหล่าใด.

[983] คำว่า พึงปราบปรามราคะเหล่านั้น คือ ราคะในรูป
เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ความว่า พึงปราบ ปราบปราม ครอบงำ
ครอบงำเฉพาะ กำจัด ย่ำยี ซึ่งราคะในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏ-
ฐัพพะทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึ่งปราบปรามราคะเหล่านั้น คือ
ราคะในรูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ลำดับต่อไป ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดราคะ
เหล่าใด ราคะเหล่านั้นเป็นธุลี 5 ประการในโลก ภิกษุ
พึงปราบปรามราคะเหล่านั้น คือราคะในรูป เสียง กลิ่น
รส และผัสสะ.

[984] ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว พึงกำจัดฉันทะ
ในธรรมเหล่านั้น ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรม
โดยชอบตามกาล เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึง
กำจัดความมืดเสีย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดังนี้.

[985] คำว่า เหล่านั้น ในคำว่า พึงกำจัดฉันทะในธรรม
เหล่านั้น
ความว่า ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ. ชื่อว่าฉันทะ
คือความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินในกาม ความ
ปรารถนาในกาม ความเสน่หาในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลง
ในกาม ความติดใจในกาม กามโอฆะ กามโยคะ กามุปาทาน กาม-
ฉันทนิวรณ์ในกามทั้งหลาย. คำว่า พึงกำจัดฉันทะในธรรมเหล่านั้น
ความว่า พึงกำจัด กำจัดเฉพาะ ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึง

ความไม่มี ซึ่งฉันทะในธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำจัด
ฉันทะในธรรมเหล่านั้น.
[986] ชื่อว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษ
ดีแล้ว
คือภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือภิกษุผู้เสขะ. คำว่า มีสติ ความว่า
ความระลึก ความระลึกถึง ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค
นี้เรียกว่า สติ. ภิกษุเป็นผู้เข้าถึง ฯลฯ ประกอบด้วยสตินี้ ภิกษุนั้น
เรียกว่ามีสติ. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ. คำว่า เป็นผู้มีจิต
พ้นวิเศษดีแล้ว
ความว่า จิตของภิกษุผู้เข้าปฐมฌาน พ้น พ้นวิเศษ
พ้นวิเศษดีแล้วจากนิวรณ์ทั้งหลาย. จิตของภิกษุผู้เข้าทุติยฌาน พ้น พ้น-
วิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากวิตกและวิจาร. จิตของภิกษุผู้เข้าตติยฌาน พ้น
พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากปีติ. จิตของภิกษุผู้เข้าจตุตถฌาน พ้น พ้น-
วิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากสุขและทุกข์. จิตของภิกษุผู้เข้าอากาสานัญจาย-
ตนฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตต-
สัญญา. จิตของภิกษุผู้เข้าวิญญานัญจายตนฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษ-
ดีแล้วจากอากาสานัญจายตนสัญญา. จิตของภิกษุผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌาน
พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากวิญญาณัยจายตนสัญญา. จิตของภิกษุผู้
เข้าเนวสัญญานาสัญญาตนฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากอากิญ-
จัญญจายตนสัญญา. จิตของพระโสดาบัน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้ว
จากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และ
จากเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับวิจิกิจฉาเป็นต้นนั้น. จิตของพระ-
สกทาคามี พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย
อย่างหยาบ และจากเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับกามราคานุสัย

เป็นต้นนั้น. จิตของพระอนาคามี พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจาก
กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ จากกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วน
ละเอียด และจากเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับกามราคสังโยชน์
เป็นต้นนั้น. จิตของพระอรหันต์ พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจาก
รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธจัจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย
อวิชชานุสัย เหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และ
จากสรรพนิมิตภายนอก. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิต
พ้นวิเศษดีแล้ว.

ว่าด้วยจิตที่เป็นกาลของสมถะและวิปัสสนา


[987] คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณา
ธรรมโดยชอบตามกาล
ความว่า เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ
เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตใน
กาลอื่น ย่อมให้จิตรื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล
ย่อมวางเฉยตามกาล โยคีผู้นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล
ความประคองจิตควรมีในกาลไหน ความข่มจิตควรมีใน
กาลไหน กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน และ
กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็น
ที่วางเฉยแห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร เมื่อจิตของโยคี
บุคคลย่อหย่อน เป็นกาลที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของ